ครูเล็ก หอศิลป์หนังตะลุง

ศาสตร์ ศิลป์ ชีวิต ของผู้ลิขิตติวหหังตะลุง จากหนังวัว กลายเป็นตัวหนังตะลุงนับร้อยนับพันตัว ที่ใช้แสดงบอกเล่าเรื่องราววิถีชาวใต้ ไปจนถึงนิทาน ชาดกต่างๆให้ผู้ชมได้เพลิดเพลิน ไม่เพียงแต่งานแกะตัวหนังตะลุงเท่านั้น หอศิลป์หนังตะลุงของ ครูเล็ก กิตติทัต ศรวงศ์ยังรวบรวมตัวหนังตะลุงหายากในภูมิภาคอาเซียนไว้ให้ศึกษา และเป็นแหล่งบ่มเพาะวิชา “คนแกะตัวหนัง”และ “นายหนัง” ให้กับเยาวชนที่สนใจเสมอมา นับเป็นหอศิลป์ที่เกิดขึ้นจากชีวิตที่อุทิศให้กับศาสตร์-ศิลป์แห่งหนังตะลุงโดยแท้

ทับทิม ทอโหกให้โลกแล

ทายาทรุ่นเหลน ครูผ้าทอสีธรรมชาติพัทลุง ทับทิม เหลนครูป้าเขียว ครูภูมิปัญญาเรื่องผ้าทอสีธรรมชาติของจังหวัดพัทลุง เวลาเห็นป้าเขียวก็จะเห็นหนูทับทิมเดินตามต้อยๆ เด็กน้อยที่ผูกพันกับเส้นด้าย เล่นกี่กระตุกมากกว่าเล่นตุ๊กตา ถนัดสีคราม สีธรรมชาติมากกว่าสีเคมี เติบโตกับเรื่องราวของผ้าพื้นเมืองมาแต่เกิด โรงเรียนชีวิตของทวดทำให้ทับทิมทอผ้าเป็นโดยอัตโนมัติอย่างไม่ต้องกางตำราเล่มไหน วันนี้น้องทับทิมอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น ทอผ้าไปเรียนหนังสือไปด้วยที่สำคัญบ้านป้าเขียวกลายเป็นโรงทอผ้าที่ส่งต่อความรู้ให้คนที่สนใจเรื่องสีธรรมชาติบนผืนผ้า สนใจการทอโหกได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้นจนจบ ใครสนใจ #ทอโหกให้โลกแล รุ่นต่อไปสอบถามได้ที่ FB: ประไพ ทองเชิญ ลองฝึกนั่งทอผ้ากี่กระตุก แล้วจะรู้สึกตัวกับมือกับใจตน

all.of.chmmade

หลากวัฒทธรรมจันต้องได้กับลวดลายบทสะดึงจิ๋ว การมีโอกาสได้เดินทางไปหลายจังหวัดของปักษ์ใต้ทำให้ได้เห็นแง่งามและอัตลักษณ์ตัวตนของคนถิ่นใต้ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดหลากเรื่องราวที่ได้พานพบระหว่างการเดินทางผ่านฝีเข็มและเส้นไหมออกมาเป็นลวดลายบนสะดึงจิ๋ว ด้วยความตั้งใจของโอม-พริมา อ่วมเจริญ ลูกหลานชาวสวนบางกะเจ้าที่เติบโตมาเป็นนักเขียน นักเดินทาง และซับเอดิเตอร์ของนิตยสารแฟชั่นหัวนอก ผู้หลงรักเสน่ห์ของวิถีถิ่นไทย ไม่ว่าจะเป็นภาษา ผู้คน อาหารการกิน ศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ กับความตั้งใจที่อยากทำให้วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จับต้องได้และไม่หายสูญไปกับกาลเวลา

ลุงแดง ป้าปาน สานคลุ้ม

จักสาหจากพี่ชโซหเขา ใต้เงาเขาบรรชัด พัทลุง งานจักสานของชาวบ้านแถบตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้คนโซนเขา ต้นคลุ้มจะขึ้นได้ดีในแถบป่าเขา โดยเฉพาะใต้เงาเขาบรรทัด หากดูเผินๆ จะคล้ายกับต้นคล้ามาก หากแต่เป็นคนละชนิดกัน “กลุ้มอยู่ป่า กว้าอยู่น้ำ” คือโค้ทลับที่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่นเพื่อให้จำแนกพืชพรรณ 2 ชนิดนี้อย่างคร่าวๆ ลักษณะลายเด่นของลายตะกร้าแถบนี้หรือในจังหวัดพัทลุงเลยกว่าได้คือ อายบ้า หรือ วายกัญชา รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมแฉก ๆ วางต่อ ๆ กันขึ้นไป ลุงแดง ร้อยตำรวจโทวัววา-ป้าปาน คุณสุวดี ขวัญรมกิดออกแบบโดยเลือกใช้เชือไนลอนขาวแทนหวาย ทำให้ตะกร้าดูอ่อนโยน มินิมอลหน่อยๆ และราคาถูกลงให้คนจับต้องได้ซื้อฝากได้ นอกจากนี้ที่ร้านยังมีงานสานอื่น ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระดัง สำหรับฝัดร่อนข้าว เจ้ย สำหรับตากอาหาร ฯลฯ คุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์คลุ้มคือ ดูอ่อนโยน เรียบง่าย แต่ทนทานไม่แตกหัก ทนต่อมอดและรา

หมอพี่สาว หัตศาสตร์

พีครูหมอชีวกโกพารกิจจ์ บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณเป็นแรงจูงใจอย่างแน่วแน่ ประสบการณ์นวดหลายแขนงทั้งศาสตร์นวดผ่อนคลาย นวดบำบัด สปา และความงาม กว่า 15 ปี ในเครือโรงแรมบันยันทรีพี่สาว วิชรี วิงบ์ช่วย เดินทางไปเป็น Therapist ในหลายประเทศทั่วโลก ก่อนหลบเรินมาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งตลาดชุมชนสีเขียวต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง แต่ยังนำแนวคิดจากงานนวดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ดูแลคนรอบข้างและตัวเองทั้งกายใจอยู่เสมอ งานนี้จึงเหมือนเป็นการหวนคืนบัลลังก์ของ”หมอพี่สาวหัตศาสตร์” ศิษย์ครูหมอชีวกโกมารภัจจ์เจ้าแม่มือนวดคนดังของเครือบันยันทรีขอให้ทุกคนผ่อนคลาย สบายใจ เกิดพลังงานดีโดยถ้วนหน้า

กระจูด คราฟท์

วิถีเกิด-โต-ตาย การสืบทอดและการสร้างสรรค์ของวัชพืชที่ชื่อ “กระจูด” วิวนิรา มาก เด็กน้อยที่เติบโตมาในดงกระจูด ดินแดนแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำเริ่มเรียนรู้การสานสาดกระจูดจากแม่ประไพย มาก ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 3 สานจนเรียกว่าหลับตาสานได้ จึงขอเปลี่ยนหน้าที่ไปถอนกระจูดจากป่าพรุแทนได้เรียนรู้ทุกขันตอนของการทำกระจูด วัลนิสาพูดได้เต็มปากว่า งานกระจูดนั้นแหละเป็นรายได้หลักของครอบครัวที่ส่งเสียจนเรียนจบหลังเรียนจบ เผชิญโลกภายนอกสักพัก จึงหลบเรินมารับจ้างใส่สายกระเป๋ากระจูด วันดีดินดีมีพี ๆ ในจังหวัดพัทลุงโยนโจทย์ใหม่ ๆให้ “น้องช่วยรานกระเป๋าแบบแปลกๆ บ้าๆบอๆ ที่ทนทาน ใส้ของหนักได้ใช้ได้นานให้หน่อย” กลายเป็นจุดเริ่มต้นของกระจูดคราฟท์ ที่มักมีผลิตภัณฑ์ให้คนว้าวเสมอ ๆ ด้วยความดิบแต่ยูนีคไม่เหมือนใคร และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน กลายเป็นสินค้าพรีเมี่ยมตัวใหม่ของจังหวัดพัทลุงไปเรียบร้อย