รวมความ ‘คราฟต์ใต้’ ที่ ‘คราฟต์คั่ง’ ที่สุด ไว้ใจกลางลานวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร เป็นงานบรรยากาศยามเย็นในลานวัด หนึ่งในงานหลากหลายมุมของเทศกาลปักษ์ใต้ดีไซน์วีค 2024 ที่อยากชวนมารู้จักคนใต้ผ่านงาน คราฟต์ที่หลากหลายในวิถีชีวิตของคนใต้หลากพื้นที่ มีความ “ได้แรงอก” ปนอยู่ ในคำพูด จังหวะท่วงท่า อาหาร งานฝีมือเสมอ ณ วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (วัดกลาง) วัดสำคัญของภาคใต้ ในย่านเมืองเก่าสงขลา
เริ่มต้นด้วย เข้าชมฝีมือช่างหลวงในวัดภาคใต้ผ่านจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นเลื่องชื่อ นำชมเรื่องราวน่าสนใจของเมือง ที่ซ่อนไว้ในภาพวาด โดยกรมศิลปากร และคณะกรรมการวัดกลาง และเปิดประสบการณ์การชมจิตรกรรมฝาผนังรูปแบบใหม่ กับการออกแบบแสงสำหรับงานสถาปัตยกรรม โดย FOS Lighting Design Studio
เริ่มต้นด้วย เข้าชมฝีมือช่างหลวงในวัดภาคใต้ผ่านจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นเลื่องชื่อ นำชมเรื่องราวน่าสนใจของเมือง ที่ซ่อนไว้ในภาพวาด โดยกรมศิลปากร และคณะกรรมการวัดกลาง และเปิดประสบการณ์การชมจิตรกรรมฝาผนังรูปแบบใหม่ กับการออกแบบแสงสำหรับงานสถาปัตยกรรม โดย FOS Lighting Design Studio
ชวนมากินให้อิ่มและอร่อย ถ้าพูดแบบคนใต้ก็คือชวนมากินให้ “เอม ได้แรงอก” คัดสรรของกินจากพัทลุงและสงขลา หิ้วข้ามทะเลสาบมาอยู่บริเวณโซนหน้าวัดกลาง หลายร้านเลือกหยิบวัตถุดิบของปักษ์ใต้มารังสรรค์เป็นเมนูพิเศษเฉพาะของงานนี้ บางเมนูก็หากินยากเหลือเกิน เพราะต้องใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล และเขาทำกินกันที่บ้านไม่ได้ขายที่ไหน ทุกเมนูทำด้วยใจ มีทั้งเมนูปักษ์ใต้ และเมนูกินง่ายสไตล์กินไปชมมหรสพในวัดไปได้
(“เอม” ตามราชบัณฑิตยสถานแปลว่า หวาน หรือชื่นใจ ส่วนภาษาใต้ เอม = อิ่ม)
สุดท้ายกับการชมชมมหรสพ ที่หาดูได้ยาก การแสดงโขนยามค่ำคืน เรื่องรามเกียรติ์
ตอนนางลอย จากโขนสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ว่าด้วยเรื่องราวในครั้งเมื่อพิเภก ทำนายฝันว่าทศกัณฐ์จะแพ้สงครามและถูกฆ่าตายควรจะสะเดาะเคราะห์เสีย โดยคืนนางสีดาไปให้แก่พระราม แต่ทศกัณฐ์โกรธจึงขับพิเภกออกไปเสียจากกรุงลงกา เมื่อพิเภกออกจากกรุงลงกาแล้วก็สมัครเข้าไปเป็นพวกพระราม ทศกัณฐ์ คิดหาทางยุติศึกชิงตัวนางสีดากับพระราม โดยคิดว่าถ้าพระรามเห็นว่านางสีดาตายไปแล้วก็คงจะยกทัพกลับไปเอง
และตอนพระรามตามกวาง จากโขนมหาวชิราวุธ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา แรงบันดาลใจมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดกลาง ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของวงวิชาการนาฏศิลป์ไทยที่อยู่ในวัดสำคัญของจังหวัดสงขลา สู่การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง เมื่อได้ชมโขนชุดนี้แล้ว ทุกครั้งที่เข้าชมจิตรกรรมฝาผนังภาพนี้ จะเข้าใจถึงความสนุกเสมือนย้อนกลับไปเมื่อยุคต้นรัตนโกสินทร์
ในการจัด “งานคราฟต์ใต้ได้แรงอก” หนึ่งในงาน เทศกาลปักษ์ใต้ดีไซน์วีค “The SOUTHERN’S TURN
ถึงทีใต้ ได้แรงอก” ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (วัดกลาง) ย่านเมืองเก่าสงขลา ต้องขอขอบคุณ ดร.จเร สุวรรณชาต ผู้ประสานงาน และการสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งก็คือ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ที่มีสวนร่วมในการขับเคลื่อนและผลัดให้เกิดกิจกรรมดีๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อชาวปักษ์ใต้ ในด้านเศรฐกิจ คุณภาพชีวิต วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการเป็นอยุ่ เพื่อให้ระบบนิเวศงานสร้างสรรค์สามารถต่อยอดจากต้นทุนวัฒนธรรม ยังคงรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างดีและมั่นคงต่อไป
Gathering the ‘southern craft’ that is ‘rich in craft’ in the heart of Wat Matchimawat Worawihan grounds. It is an evening atmosphere event in the temple grounds, one of the many-angled events of the Southern Design Week 2024 festival that would like to invite you to get to know southern people through a variety of craft works in the lifestyles of southern people from many areas. There is always a “strength in the chest” mixed in the words, rhythm, food, and handicrafts at Wat Matchimawat Worawihan (Wat Klang), an important temple in the South in the old town of Songkhla.
We encourage you to appreciate and engage with southern handicrafts in the Phatthalung style, which has been passed down from the one generation to the next. Enjoy the skills of the royal craftsmen in the southern temples through the prominent powder-painted walls. Khon performance by PSU Arts and Cultural Center and Mahavajiravudh Changwatsongkhla School Enjoy the tasty local food and drink with southern ingredients from the Wat Klang Community Team and the Kin Dee Mee Suk Team, Phatthalung And many more.
In organizing “Southern Craft Festival, Get Strong Heart”, one of the Southern Design Week Festival “The SOUTHERN’S TURN, Get Strong Heart” in 2024 at Wat Matchimawat Worawihan (Wat Klang), Songkhla Old Town, I would like to thank Dr. Jare Suwannachat, the coordinator, and the support from the private sector, Chevron Thailand Exploration and Production Limited, for participating in driving and taking turns to create good activities that are beneficial to the people of the South in terms of economy, quality of life, culture, tourism, and living, so that the creative ecosystem can build on the cultural capital, and continue to preserve and pass on the original culture well and firmly.